พระวิหาร และสถานที่สำคัญภายในวัด

พระวิหารคด (วิหารพระด้าน)

53730309_1035730999934015_5784844464040181760_o.jpg

 

"พระวิหารคด"สถาปัตยกรรมที่ล้อมรอบองค์พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราชเอาไว้ทั้ง ๔ ทิศ หรือที่เรียกกันอีกชื่อว่า "พระระเบียง" เป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญ สืบเนื่องมาจากตำแหน่งของอาคารในผังพระระเบียง ส่งผลดีต่อการวางตำแหน่งสถาปัตยกรรมต่างๆ ภายในวัด รอบผนังด้านนอกทั้ง ๔ ทิศ ยกพื้นสูงประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นประทับนั่ง ฝีมือช่างสมัยอยุธยา และรัตนโกสินทร์ เป็นแถวยาวทุกด้านจำนวนทั้งสิ้น ๑๗๓ องค์ นิยมเรียกกันว่า "พระด้าน" ผนังด้านในทำเป็นช่องหน้าต่างสลับประตู เป็นเสมือนระเบียงชั้นในของพระบรมธาตุฯ บางคนเรียก "พระระเบียง" ใช้สำหรับสาธุชนมาทำบุญ ใส่บาตร ฟังพระธรรมเทศนา พักผ่อนอ่านหนังสือ ในปัจจุบันช่วงเทศกาล "มาฆบูชาแห่ผ้าขึ้นธาตุ" จะมีประเพณี "พิธีสวดด้าน" โดยทั้งญาติโยม และพระภิกษุ สามเณร จะมาร่วมสวดบทร้อยกรอง สรภัญญะ สำนวนภาษาถิ่น สักการะพระบรมธาตุเจดีย์ ๓ วัน ๗ วันทุกปี ซึ่งเป็นการรื้อฟื้นประเพณีอันเก่าแก่ขึ้นมาปฏิบัติเพื่อเป็นการดำรงรักษาไว้ซึ่งความงดงามนั่นเอง

 

53843083_1035731673267281_5688132756995833856_o.jpg


 


พระวิหารทับเกษตร

19621346_1927540227517171_2333548246876125855_o_1.jpg


"พระวิหารทับเกษตร" เป็นพระวิหารที่มีลักษณะพิเศษด้วยการสร้างรอบระเบียงตีนธาตุหรือทิพคีรีคลุมฐานของพระบรมธาตุไว้เป็นพระวิหาร เชื่อว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงโปรดให้บูรณปฎิสังขรครั้งใหญ่ เมื่อพ.ศ. ๒๓๑๒ มีจุดเด่นสำคัญคืองานรูปปั้นประดับรอบ ที่ผนังของรอบองค์พระบรมธาตุมีซุ้มช้างยืนโผล่หัวในซุ้มด้านละ ๖ ตัว รวม ๒๒ ซุ้ม อันเป็นลักษณะเฉพาะที่เชื่อว่ามาจากลังกา สลับกับพระพุทธรูปปั้นปางประทานอภัยยืนในซุ้มเรือนแก้วจำนวน ๒๔ ซุ้ม  พระวิหารทับเกษตร มียกพื้นเป็น ๒ ชั้นเดินได้ตลอดแนว ในส่วนชั้นบนเชื่อกันว่าเคยเป็นทาง "เสด็จจงกรมของพระเจ้าตากสินมหาราช" โดยใน ๓ ด้านจะมีธรรมาสน์ไว้สำหรับพระภิกษุแสดงธรรม โปรดญาติโยมในโอกาศวันสำคัญต่าง ๆ 

DSC07968.jpg

พระวิหารทรงม้า (พระม้า)

 

image